วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

มท.1เผยนายกฯกังวลน้ำท่วม





วันนี้ ( 16 ก.ย.) ที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสวตร์และเทคโนโลยี ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) พร้อมด้วยนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกฯ และ รมว.มหาดไทย น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือไอซีทีและนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รมต.ประจำสำนักนายกฯ ประชุมทางไกลร่วมกับผู้ว่าฯ 36 จังหวัดในพื้นที่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำผ่านระบบวีดีโอ คอนเฟอร์เรนซ์ เพื่อติดตามและประเมินสถานการณ์ในขณะนี้
โดยนายยงยุทธ กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์น้ำท่วมถือว่ายังไม่รุนแรง แต่นายกฯ มีความเป็นกังวลอย่างมาก ทั้งนี้เมื่อสถานการณ์น้ำท่วมเกิดขึ้นขอความกรุณาสื่อเรื่องของการพาดหัว ข่าวว่าอย่าให้เกิดความตื่นเต้นกับประชาชนมากนัก ในส่วนของผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องติดต่อได้ทางโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยขอให้ นำติดตัวไว้ตลอดเวลา ห้ามปิดเครื่องโดยเด็ดขาด เพราะเมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้นจะต้องสามารถรายงานนายกรัฐมนตรีและ กบอ.ได้ทันที
นายปลอดประสพ กล่าวว่า การประชุมในวันนี้เกิดจากข้อห่วงใยของนายกรัฐมนตรีในฐานะผู้นำรัฐบาลต่อชีวิต ทรัพย์สินและความรู้สึกของประชาชน โดยนายกฯประสงค์ให้ประเมินและติดตามสถานการณ์ตลอดเวลา และมีการรายงานข้อมูลอย่างเป็นระบบ นับจากนี้ขอให้ระบบซิงเกิลคอมมานด์ของกบอ.เชื่อม โยงกับระบบของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยซึ่งเป็นระบบหลักให้พร้อมเผชิญ เหตุช่วยเหลือประชาชน รวมทั้งประเมินผลให้เป็นข้อมูลเดียวเพื่อการปฎิบัติอย่างมีคุณภาพ เพราะเวลานี้ภัยน้ำท่วมก้าวข้ามจากพื้นที่จังหวัดเดียวครอบคลุมหลายจังหวัด จึงต้องให้ทั้ง 2 ระบบเชื่อมโยงกันในการแก้ไขปัญหา
"ทั้งนี้เรากำลังต่อสู้อยู่กับภัย 2 ด้าน คือ 1.ต่อสู้กับภัยน้ำท่วม ซึ่งเชื่อว่าเราจะผ่านเหตุการณ์นี้ไปได้ 2.ต่อสู้กับความกลัวของประชาชน ซึ่งจากปัญหาน้ำท่วมเมื่อปี 2554 ที่ผ่านมาทำให้ประชาชนหวาดกลัวเพราะเกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจและสังคมมาก มาย ดังนั้นเป็น 2 แนวรบที่ดูว่าจะต้องทำอย่างไรให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นต่อรัฐบาล ทั้งการบริหารจัดการและสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน ศึกนี้จะรู้ผลแพ้ชนะ 1 เดือนหลังจากนี้ และไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรเราจะต้องผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปให้ได้ ขอให้ผู้ว่าฯ ในฐานะผู้ปฏิบัติมีความมั่นใจก่อนเป็นคนแรก สู้ให้สุดฤทธิ์ด้วยความสามัคคีและปัญญา" นายปลอดประสพ กล่าว
นายปลอดประสพ กล่าวอีกว่า สำหรับแผนเผชิญเหตุจะมีอยู่ 2 ระดับคือ  ระดับประเทศ ประกอบด้วย 10 ด้าน ได้แก่ 1. ต้องมีการจัดกำลังพลโดยการสนธิกำลังของฝ่ายอำนวยการและฝ่ายปฏิบัติการ รวมถึงผู้มีอำนาจตัดสินใจมาประจำที่ กบอ. ตลอด 24 ชั่วโมง 2. ฝ่ายวิชาการจะต้องประมาณสถานการณ์ทุก 3-6 ชั่วโมง 3. ต้องมีการสรุปสถานการณ์ประจำวันทุก 09.00 น. เพื่อการตัดสินใจ 4. ต้องมีการแถลงข่าวทุกวัน เพื่อการส่งต่อข้อมูลไปถึงประชาชน รวมทั้งจะต้องให้ข้อมูลสถานการณ์น้ำแบบรีลไทม์ทุกรายชั่วโมง 5. ต้องเชื่อมโยงข้อมูล รวมทั้งมีระบบสำรอง
"6. ต้องมีการเตรียมความพร้อมทั้งเครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์ รถและเรือให้ใช้งานได้ตลอดเวลา 7. ต้องมีการต้องมีการติดตั้งระบบประชุมทางไกล ผ่านระบบเทเลคอนเฟอเรนท์ โดยให้สามารถติดต่อผู้ว่าฯได้ ตลอด 24 ชั่วโมง 8. ต้องมีป้ายประกาศขนาดใหญ่ ที่ กบอ. ตึกแดง ทำเนียบรัฐบาล เพื่อให้ทุกคนเห็นวาระการสั่งการตลอดเวลา 9. เตรียมรายชื่อและเบอร์โทรศัพท์ของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งระดับอำนวยการและ บริหารแจกจ่ายกับผู้ปฏิบัติงานทุกคนโดยเร็วที่สุด และ 10. ขอให้ฝ่ายทหารส่งฝ่ายอำนวยการมาประจำที่ กบอ. โดยต้องเป็นผู้ที่สามารถดำเนินการได้ครอบคลุมทุกภารกิจ" นายปลอดประสพ กล่าว 
นายปลอดประสพ กล่าวเพิ่มเติมว่า ส่วนแผ่นเผชิญเหตุระดับพื้นที่ ประกอบด้วย 1. จัดตั้งศูนย์ส่วนหน้าระดับจังหวัด 2.ในพื้นที่ริมน้ำให้มีหน่วยเผชิญเหตุระดับตำบลและอำเภอ รวมทั้งระบบหมู่บ้านในพื้นที่ที่เกิดผลกระทบ โดยให้ดำเนินการภายใน 24 ชั่วโมง 3. ติดตั้งเครื่องมือสื่อสารให้พร้อม 4. ประเมินสถานการณ์ทุก 3-6 ชั่วโมงและรายงานตามลำดับชั้น 5. เป็นคำสั่งนายกฯ ให้มีการเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ระดับจังหวัดให้พร้อม เช่น รถแทรกเตอร์ แบ็คโฮ บิ๊กแบ๊ก เกเบรียล ให้พร้อมใช้งาน
"6.ขอให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจัดทำบัญชีเครื่องมือ รวมทั้งรายชื่อโรงพยาบาล วัด หรือร้านค้า ในระดับจังหวัดให้พร้อมสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือประชาชนเหมือนกำลังทำศึก สงคราม 7. เตรียมสถานที่ใช้อพยพเด็กและผู้สูงอายุก่อนน้ำจะมา ห้ามอพยพแบบลุยน้ำออกมา ถ้ามีปัญหาตนจะรายงานกระทรวงมหาดไทย 8. ให้จัดทำรายชื่อผู้เกี่ยวข้องระดับจังหวัดและอำเภอ พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อและ 9.นายกฯ สั่งการให้มีเจ้าหน้าที่ประจำอยู่ในพื้นที่ตลอดเวลา แม้ว่าน้ำจะยังไม่มา" นายปลอดประสพ กล่าว 
ด้านนายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า  ขณะนี้ปริมาณน้ำเริ่มไหลทรงตัว ดังนั้นจะไม่มีผลกระทบต่อพื้นที่เศรษฐกิจของ จ.สุโขทัย ขณะที่ปริมาณน้ำที่บริเวณทุ่งบางระกำ จ.พิษณุโลกก็มีปริมาณลดลง ส่วนบริเวณบางไทร จ.พระนครศรีอยุธยาก่อนจะเข้า กทม.ก็ลดลงเช่นเดียวกัน ขณะที่น้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี ก็มีการระบายน้ำเพื่อรักษาสภาพเขื่อนให้สามารถรับมวลน้ำที่จะมาใหม่ได้ ดังนั้นปริมาณน้ำก็จะไม่กระทบกับแม่น้ำป่าสัก และสถานการณ์น้ำยังไม่วิกฤต
ขณะ ที่นายรอยล จิตรดอน ประธานคณะอนุกรรมการการติดตามวิเคราะห์สถานการณ์น้ำและจัดสรรน้ำ ในนคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) กล่าวว่า สิ่งที่ต้องเฝ้าระวังคือในช่วงวันที่ 16-18 ก.ย. นี้จะมีฝนตกหนัก ในพื้นที่ฝั่งตะวันตก เช่น อุทัยธานี ตาก ซึ่งจะต้องเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำในแม่น้ำปิง ขณะที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาจะมีน้ำขัง 300-400 ล้าน ลบ.ม.  ยืนยันว่าผลกระทบจากน้ำฝนจะไม่เกิดขึ้นใน กทม.และทุกคนจะปลอดภัย  ทั้งนี้ยังมีเวลาเตรียมการอีก 1 สัปดาห์คือหลังวันที่ 17 ก.ย. เป็นต้นไปเพื่อเตรียมรับมือร่องมรสุมที่กำลังจะพัดผ่านประเทศไทย
 ด้านนายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา กรรมการ กบอ. กล่าว ว่า ขณะนี้น้ำที่ท่วมเป็นน้ำเอ่อล้นผิวดินกลายเป็นน้ำนอง ทั้งในภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตนบน ประมาณ 8.5 แสนไร่ หากเปรียบเทียบกับช่วงเดือน ก.ย.ปี 54 มีน้ำมากถึง 3.5 ล้านไร่ ดังนั้นถือว่าปีนี้น้ำน้อยมาก ขณะที่ลุ่มน้ำยม เช่น อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย ก็มีปริมาณน้ำเพียง 1.6 แสนไร่ ส่วนอยุธยามีน้ำนองเพียง 1.5 หมื่นไร่ ขณะที่ช่วงเวลาเดียวกันของปี 54 มีน้ำนองมากถึง 3 แสนไร่ ยืนยันว่าปีนี้น้ำน้อยมาก
 ทั้งนี้นายปลอดประสพ กล่าวสรุปในตอนท้าย ว่า เหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อปีที่แล้วเป็นน้ำที่ล้นจากแม่น้ำเข้าไปท่วมในทุ่งจน เกิดน้ำท่วมทุ่งขนาดใหญ่ แต่ในปีนี้100 เปอร์เซ็นต์เป็นน้ำฝนที่ตกแล้วขังในทุ่งก่อนไหลลงแม่น้ำ  ปี นี้เป็นเพียงน้ำฝนธรรมดา จึงจะไม่มีน้ำท่วมใหญ่ให้เห็นแน่นอน อย่างไรก็ตามจุดที่ต้องลงแขกกันให้หนักคือทุ่งบางระกำ .ซึ่งเป็นจุดที่มีแม่น้ำ 2 สายมาบรรจบ คือ น้ำยมตอนล่าง และแม่น้ำน่าน ยืนยันว่าจะไม่ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของชาว กทม.ต้องลำบากแน่นอน โดยหากมีน้ำมาจะเร่งผันไปทางพื้นที่ฝั่งตะวันออกเพื่อให้ไหลออกแม่น้ำบางปะกง ก่อนออกคลองด่าน จ.สมุทรปราการต่อไป
ด้าน นอ. อนุดิษฐ์ กล่าวว่า กระทรวงไอซีทีได้จัดทีมเตรียมการสื่อสารสำรอง พร้อมปฏิบัติการในกรณีโครงข่ายการสื่อสารหลักชำรุดไว้แล้ว รวมทั้งได้จัดสายด่วน เพื่อรับรายงานสถานการณ์น้ำ และให้ข้อมูลกับประชาชนไว้แล้ว
รายงาน ข่าวจากกรมชลประทาน เปิดเผยว่ากรมประทาน ได้สรุปสถานการณ์น้ำท่วมปี 55 โดยสรุปว่ามี 7 จ.คือ แพร่ สุโขทัย พิษณุโลก นครสวรรค์ ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง รับผลกระทบจากน้ำท่วม เนื่องจากมีปริมาณน้ำน้อยกว่าปี 54 ถึง 60 เปอร์เซนต์ และมีแนวโน้มจะไม่ได้อธิพลจากพายุโดยตรง ซึ่งได้คาดการณ์จนสิ้นสุดฤดูฝนในเดือนตุลาคมนี้ โดยตั้งเป้าว่าจะมีน้ำไหลเข้าเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ ได้ปริมาณความจุไม่เกินร้อยละ 60 เพราะขณะนี้ใกล้สิ้นสุดหน้าฝนมีน้ำไหลเขื่อนภูมิพล อยู่ที่ 80 กว่าล้านลบมเท่านั้น เขื่อนสิริกิต์ อยู่ 100 กว่าล้านลบม โดยทั้งสองเขื่อนได้ปิดการระบายไปแล้วเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้หน้าแล้งที่จะ เริ่มเดือนพฤศจิกายนนี้

ทั้งนี้จากร่องมรสุมได้ลดลงมาภาคเหนือตอน ล่างและภาคกลางตอนบน ทำให้เขื่อนไม่ได้รับฝนจากร่องดังกล่าวทำให้ฝนมาตกในพื้นที่ จ.แพร่ จ.ลำปาง จ.สุโขทัย และเป็นผลให้ปริมาณน้ำยมล้นตลิ่งเนื่องจากยังเป็นลุ่มน้ำเดียวที่ไม่มีระบบ บริหารจัดการ รวมทั้งจากลุ่มน้ำน่านบางส่วนที่มาบรรจบกับลุ่มน้ำยม ซึ่งปัจจุบันมีปริมาณน้ำเหนือค้างในพื้นที่ต่่างในพื้นที่ลุ่มต่ำตลอดแนว ลุ่มมน้ำยม และลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 พันกว่าล้านลบม.เท่านั้น ต่างจากปี54 ที่มีปริมาณน้ำเหนือถึง 2 หมื่นกว่าล้าน

สถานการณ์น้ำเหนือระดับนี้ไม่ส่งผลให้น้ำท่วมขยายวงกว้างและพื้นที่รับน้ำ นอง 2.2 ล้านไร่ ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ เพราะพื้นที่รับน้ำนองในด้านเหนือเขื่ิอนเจ้าพระยา ตั้งแต่ จ.พิษณุโลก จ.พิจิตร จ.นครสวรรค์ จ.ชัยนาท ประมาณ 1ล้านไร่ยังไม่มีน้ำการผันเข้าไป คาดการณ์ว่าปริมาณน้ำเหนือลดลงส่งผลให้พื้นที่ริมน้ำและพื้นที่ลุ่มต่ำน้ำ ท่วมเป็นประจำทุกปี น้ำจะลดลงเร็วกว่าทุกปี จาการขุดลอดคูคลอง แม่น้ำสายหลัก ทำให้การระบายเป็นไปได้ดีขึ้นและไม่มีผลกระทบกับกรุงเทพฯและปริมณฑลแต่อย่าง ใด ซึ่งในขณะเดียวกันก็ยังมีพื้นที่ประสบภัยแล้งอยู่อีก 4 จ.คือบุรีรัมย์ นครศรีธรรมราช สุราษฐ์ธานี พัทลุง อย่างไรก็ตามล่าสุดปริมาณน้ำเขื่อนทั่วประเทศมีระดับกักเก็บร้อยละ 66 แต่ปริมาณน้ำใช้การได้เพียง ร้อยละ 33

วันเดียวกัน พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก ให้สัมภาษณ์ถึงมาตรการการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก(ผบ.ทบ.) ได้กำชับให้กองทัพภาคที่ 3 โดยให้หน่วยทหารทุกหน่วยที่อยู่ในพื้นที่ให้ความสำคัญกับความเดือดร้อนของประชาชน ให้เร่งดำเนินการช่วยเหลือประชาชนให้ทันต่อสถานการณ์ ไม่ต้องรอให้มีการประสานขอความช่วยเหลือ โดยให้หน่วยต่างๆเข้าไปติดต่อประสานการทำงานเพื่อใช้ศักยภาพของกำลังพลและยุทโธปกรณ์อย่างเต็มที่ เช่น การขนย้ายสิ่งของ การอพยพ อุดรอยรั่ว ทำพนังกั้นน้ำตามจุดต่างๆ โดยประสานความร่วมมือหน่วยงานในพื้นที่

พ.อ.สรรเสริญ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาเจ้าหน้าทุกฝ่ายพยายามเตรียมการป้องกันน้ำท่วมอย่างเต็มความสามารถด้วยการขุดคูคลอง จัดที่รองรับน้ำ  แต่ว่าพื้นต้นน้ำบริเวณลุ่มแม่น้ำยมมีฝนตกมาอย่างหนักและต่อเนื่อง ทำให้ปริมาณน้ำที่ลุ่มแม่น้ำยมสูงมากซึ่งแม่น้ำยมไม่มีเขื่อนที่รองรับน้ำ ทำให้น้ำไหลลงมาอย่างรวดเร็ว ซึ่งพนังกั้นน้ำทำไว้ตรงขอบสูงเพียง 7.40 เมตร แต่ระดับน้ำขนาดนี้สูง 7.30 เมตร แต่สาเหตุที่น้ำเข้ามาในพื้นที่ตัวเมืองเพราะพนังกั้นน้ำที่ทำไว้ 7.40 เมตรนั้นไม่เท่ากันตลอดแนวจะสูงหรือจะต่ำขึ้นอยู่กับพื้นดินข้างล่าง จึงเป็นเหตุให้น้ำล้นทะลักเข้ามาในเขตพื้นที่ตัวเมือง นอกจากนี้ยังมีน้ำที่พุดขึ้นมาจากใต้พนังกั้นน้ำที่เข้ามาเพิ่มอีก ซึ่งขนาดนี้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และทหารกำลังเร่งทำงานอย่างเต็มที่เพื่อให้ช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยและทำให้สถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว

ในพื้นที่ จ.สุโขทัย ที่มีน้ำทะลักเข้ามาในตัวเมืองกองทัพภาคที่ 3 ได้เร่งทำกระสอบทรายเพื่อเข้าไปเสริมในจุดพนังกั้นน้ำที่เป็นพื้นที่ต่ำเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำทะลักเข้ามาในตัวเมือง ซึ่งตอนนี้กำลังดำเนินการเร่งอพยพพี่น้องประชาชนออกมาอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยจนกว่าน้ำจะลดระดับลง พร้อมส่งชุดแพทย์ลงพื้นที่เพื่อให้การรักษาผู้ที่บาดเจ็บหรือมีอาการป่วย” โฆษก ทบ.กล่าว.
ที่มาเดลินิวส์ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น